ความเป็นมา อมตะ สยาม
พระเครื่องของไทยเป็นพุทธศิลป์ที่มีคุณค่าของแผ่นดินสยาม ทั้งยังทำให้พระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักของสังคมโลก ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ธุรกิจพระเครื่องในไทยมีมูลค่าประมาณ 1.7 – 2.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่นับรวมถึงการจำหน่ายให้ชาวต่างชาติและธุรกิจพระเครื่องไทยในต่างประเทศ ซึ่งมีหลายประเทศที่ให้ความสนใจ เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน
นอกจากนี้พระเครื่องยังเป็นโบราณวัตถุที่ใคร ๆ ต่างต้องการมีไว้ในครอบครอง ด้วยความเชื่อและความศรัทธาในพุทธคุณ รวมถึงประวัติศาสตร์ของพระเครื่ององค์นั้น ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี
พระเครื่องแต่ละองค์ต่างมีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการดูด้วยสายตายังไม่สามาถรถบอกถึงประวัติศาสตร์ขององค์พระได้อย่างชัดเจน แต่ด้วยวิวัฒนาการของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิด นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องไปได้ไกลมากขึ้น
สถาบันตรวจสอบและวิจัยวัตถุโบราณ (อมตะ สยาม) เห็นถึงความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถระบุองค์ประกอบหรือมวลสารขององค์พระได้อย่างแม่นยำ และยังมีการศึกษางานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศในเรื่องการตรวจสอบอายุของโบราณวัตถุ และนำมาวิจัยต่อยอดและประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบค่าความเก่าหรืออายุการสร้างองค์พระโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบอายุโบราณวัตถุที่ได้การยอมรับจากทั่วโลก เมื่อผลทางวิทยาศาสตร์สอดคล้องกับประวัติศาสตร์จึงทำให้การศึกษาพระเครื่องของไทยมีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น
ด้วยประสบการณ์ของผมเอง ผมเชื่อว่าการมีทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่ขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง มักจะทำให้โอกาสในการเข้าถึงและครอบครองพระเครื่องหรือโบราณวัตถุล้ำค่าหลุดลอยไป ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เครื่องมือและวิธีการตรวจสอบด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ตลอดจนทีมนักวิทยาศาสตร์ของอมตะ สยาม จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับท่าน และทำให้ท่านไม่โดนหลอกลวงจากคำพูดของกลุ่มคนที่แทนตนว่า “เซียน”
การสืบค้นและสร้างสรรค์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพระเครื่องทั้งมิติทางประวัติศาสตร์มิติด้านพุทธศิลป์ มิติด้านวิทยาศาสตร์ และมิติด้านความเชื่อ ความศรัทธาจึงสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่อันเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของคนไทยในแต่ละยุคสมัยได้และหากมีการสนับสนุนส่งเสริมอย่างมีหลักวิชาที่ถูกต้อง ประเทศไทยอาจใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องเป็น soft power ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของคนไทยได้ด้วยเช่นกัน
อมตะ สยามจะร่วมส่งเสริมให้พระเครื่องของไทยเป็น Soft power ที่รู้จักทั่วโลก และทำให้เกิดการจรรโลงมรดกของแผ่นดินไทยสืบต่อไป
เกี่ยวกับเรา
ศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต ( อมตะ สยาม ) เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนและให้ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่องพระสมเด็จฯ โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทางไกลมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ต่อมา อมตะสยาม ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนเพิ่มเติม “หลักสูตรการศึกษาพระเครื่องชุดเบญจภาคี” กิจการดำเนินไปได้ด้วยดี จึงมีแนวคิดที่จะขยายธุรกิจโดยการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
บริษัท อมตะ สยาม (2017) จำกัด ดำเนินธุรกิจการตรวจสอบและรับรองวัตถุมงคล โบราณวัตถุ และวัตถุมีค่าอื่นๆ
บริษัท อมตะ สยาม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจให้บริการตลาดกลางการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ พระเครื่อง วัตถุมงคล โบราณวัตถุ และวัตถุมีค่าอื่น ๆ ตามมา
เนื่องจากในปัจจุบัน วงการพระเครื่องยังไม่มีบทสรุปการยืนยันอายุของพระเครื่องต่าง ๆ ที่ชัดเจน การตรวจสอบพระเครื่องหรือโบราณวัตถุต้องใช้ประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จึงมีโอกาสผิดพลาดและพลิกแพลงได้ สาเหตุเพราะตัวบุคคลอาจได้ผลประโยชน์จากการตรวจสอบแต่ละครั้งหรือแต่ละตัวอย่าง เมื่อผลประโยชน์มาความจริงอาจไม่จริงก็ได้ เครื่องมือและเทคโนโลยีจึงจำเป็นอย่างยิ่งเพราะไม่สามารถโกหกได้
อมตะ สยามจึงนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการตรวจสอบหาค่าอายุของโบราณวัตถุและวัตถุมีค่าอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ซื้อได้ ทั้งนี้อมตะ สยาม ยังเป็นตัวชี้วัดและรับรองความเป็นกลางในการออกใบรับรองอายุและการประเมินราคาของวัตถุมงคลล้ำค่า และจัดการประมูลออกสู่ตลาดสากล มีการจัดงานประมูลผ่านระบบออนไลน์ โดยทุกรายการที่ขึ้นประมูลจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยสถาบันตรวจสอบและวิจัยวัตถุโบราณ อมตะสยาม (Amata Siam Science Center)
นอกจากนี้ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อมตะ สยาม จึงนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการทำ Smart Contract เพื่อเก็บเป็นประวัติ สามารถเป็นหลักฐานอ้างอิงการครอบครอง มีประโยชน์ในกรณีที่มีการโจรกรรมวัตถุมงคล โบราณวัตถุ และวัตถุมีค่าอื่น ๆ และใช้เป็นหลักฐานแสดงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนสอบสวน และต่อไปอมตะ สยามจะเป็นผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล (Non-Fungible Token) ในอนาคต
สถาบันตรวจสอบและวิจัยวัตถุโบราณ อมตะ สยาม ในเครือของบริษัทอมตะ สยาม (2017) จำกัดให้บริการ
– ตรวจสอบพระเครื่องด้วยวิธีธรรมชาติวิทยา โดยอาศัยความชำนาญจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบ ลักษณะการยุบ ย่น หด เหี่ยว และแห้ง ความเก่าของรักษ์ มวลสาร การปริแยก
– ตรวจสอบอายุโบราณวัตถุและพระเครื่องด้วยเทคนิคการเปล่งแสง (Luminescence Dating) โดยใช้เครื่อง TL/OSL Reader & Inductively Coupled Plasma Mass Spectrometry (ICP-MS) รวมถึงการออกใบรับรองและประเมินราคา
– ตรวจสอบมวลสารหรือธาตุองค์ประกอบของวัตถุด้วยเครื่อง X-ray fluorescence (XRF)
– จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาพระเครื่อง พระสมเด็จ (โต พรหมรังสี) และหลักสูตรการศึกษาพระเครื่องชุดเบญจภาคี โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทางไกล สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
บริษัท อมตะสยาม คอร์เปอเรชั่น จำกัด ให้บริการ
เป็นตลาดกลางในการซื้อขายและประมูลพระเครื่อง ทั้งผ่านเว็บไซต์และผ่านงานประมูล โดยอมตะ สยามจะเป็นตลาดกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
การตรวจสอบอายุโบราณวัตถุด้วยเทคนิคการเปล่งแสง (Luminescence dating)
ด้วยเครื่อง TL/OSL Reader & ICP MS
หลักการเปล่งแสงของแร่
ผลึกแร่ที่สมบูรณ์จะมีการจัดเรียงตัวของประจุบวกและประจุลบอย่างสมดุล แต่ผลึกแร่ในธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีความบกพร่อง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และส่งผลบางตำแหน่งของการจัดเรียงตัวภายในผลึกแร่ ไม่มีประจุลบและทำพฤติกรรมคล้ายหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน (electron trap) ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดให้อิเล็กตรอนที่กระจายโดยรอบเข้ามาฝังตัว พลังงานของหลุมกักเก็บนี้จะอยู่ในระดับพลังงานกระตุ้นกึ่งเสถียร
เมื่อผลึกแร่ได้รับพลังงานจากสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานจากรังสีคอสมิกจากชั้นบรรยากาศหรือพลังงานจากการแผ่รังสีของธาตุ กัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติ พลังงานเหล่านี้จะกระตุ้นให้อิเล็กตรอนโดยรอบหลุมกักเก็บเปลี่ยนระดับพลังงานและเข้ามาฝังตัวในหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน ซึ่งจำนวนของอิเล็กตรอนในหลุมกักเก็บนี้จะมีความสัมพันธ์กับปริมาณรังสีในธรรมชาติและระยะเวลาที่ผ่านมา ต่อมาเมื่อผลึกแร่ได้รับพลังงานแสงหรือความร้อนอีกครั้ง จะทำให้อิเล็กตรอนในหลุมกักเก็บถูกกระตุ้นให้หลุดจากหลุมกักเก็บและเปลี่ยนระดับพลังงาน พลังงานส่วนต่างจะถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของแสงหรือเกิดการเปล่งแสงนั่นเอง
การตรวจสอบอายุโบราณวัตถุด้วยเทคนิคการเปล่งแสง (Luminescence dating)
การตรวจสอบอายุของโบราณวัตถุโดยใช้เทคนิคการเปล่งแสงจะต้องทราบจำนวนอิเล็กตรอนในหลุมกักเก็บและอัตราการแผ่รังสีต่อปีของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้อิเล็กตรอนเข้าไปฝังตัวในหลุมกักเก็บ
Equivalent Dose (ED) คือ จำนวนอิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้นให้ไปอยู่ในหลุมกักเก็บ ซึ่งก็คือปริมาณรังสีสะสมที่ผลึกแร่ได้รับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีหน่วยเป็นเกรย์ (Gy)
Equivalent Dose สามารถทราบได้จากเครื่อง TL/OSL Reader หลักการทำงานของเครื่องดังกล่าว คือ การให้แสงสีเขียวที่ความยาวคลื่นประมาณ 420 – 550 นาโนเมตรหรือความร้อนประมาณ 450 องศาเซลเซียส กระตุ้นไปยังตัวอย่าง เมื่ออิเล็กตรอนที่อยู่ในหลุมกักเก็บภายในผลึกของตัวอย่างถูกกระตุ้นก็จะคายพลังงานออกมาในรูปของการเปล่งแสง ตัววัดสัญญาณภายในเครื่องมือจะวัดปริมาณการเปล่งแสงเทียบกับเวลา ซึ่งปริมาณการเปล่งแสงนี้จะสัมพันธ์กับจำนวนอิเล็กตรอนที่มีในหลุมกักเก็บและจะมีค่าลดลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ถูกกระตุ้น
Annual Dose (AD) คือ อัตราการแผ่รังสีต่อปีของธาตุกัมมันตรังสีในธรรมชาติและรังสีคอสมิก มีหน่วยเป็นเกรย์ต่อปี (Gy/year)
Annual Dose สามารถทราบได้จากเครื่อง Inductively coupled plasma mass spectrometry หรือ ICP MS โดยการใช้ พลังงานจากแสงเลเซอร์เพื่อให้ตัวอย่างระเหิดและแตกตัวเป็นไอออน แล้ววัดกระแสไออน ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของธาตุกัมมันตรังสีในธรรมชาติที่มีผลต่อการกระตุ้นอิเล็กตรอนให้เข้าไปฝังตัวในหลุมกักเก็บ โดยธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าว ได้แก่ ธาตุยูเรเนียม (U) ธาตุทอเรียม (Th) และธาตุโพแทสเซียม (K) ธาตุเหล่านี้จะสลายตัวไปตามค่าครึ่งชีวิตและทำให้เกิดอนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา ซึ่งอัตราการแผ่รังสีต่อปีนี้จะมีค่าขึ้นกับปริมาณของอนุภาคเหล่านี้ และปริมาณของอนุภาคเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของธาตุกัมมันตรังสี U Th และ K
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจหาอายุโบราณวัตถุด้วยเทคนิคการเปล่งแสง (Luminescence dating)
S.H. TaTumi et al. (1997) ได้ตรวจสอบอายุของเซรามิกโบราณบริเวณแม่น้ำปารานาของเมืองมาตูโกรซูดูซูว ประเทศบราซิล โดยใช้เทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ จากการวิจัยพบว่า อายุของเซรามิกโบราณโดยประมาณอยู่ที่ 239 ± 10 ปี ไปจนถึงอายุ 1,248 ± 100 ปี นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างถ่านที่ถูกเผาจากโบราณสถานเก่าแก่มาตรวจสอบด้วยคาร์บอน 14 อายุที่ได้โดยประมาณอยู่ที่ 1,015 ± 75 ปี ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์
S.H. Tatumi, G. R. Martins, E. M. Kashimoto, W. E. F. Ayta & S. Watanabe. (1997) Thermoluminescence dating of archaeological ceramics collected from state of Mato Grosso do Sul, Brazil, Radiation Effects & Defects in Solid, Vol. 146, 297-302
Diego et al. (2011) ได้ตรวจสอบอายุของตะกอนดินและอิฐจากหลุมฝังศพของมัมมี่แม่ชี รัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล ด้วยเทคนิคลูมิเนสเซนซ์และคาร์บอน 14 ผลการวิจัยพบว่าอายุของตะกอนดินและอิฐเหล่านั้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งจากการตรวจสอบด้วยเทคนิคลูมิเนสเซนซ์และคาร์บอน 14 ได้ผลที่สอดคล้องกัน
Diego R.G. Tudela, Sonia H. Tatumi, Marcio yee, Silvio L.M. Brito, Jose L. Morais, Daisy De Morais, Silvia C. Piedade, Casimiro S.P. Munta & Roberto Hazenfratz. (2011). TL, OSL and C-14 Dating Results of the Sediments and Bricks from Mummiied Nuns’ Grave, Annals of the Brazilian Academy of Sciences, 237-244
ธิดารัตน์และสรศักดิ์ (2021) ได้ศึกษาการหาอายุด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ของแหล่งโบราณคดีกำแพงเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยการนำตัวอย่างเศษอิฐจาก 3 ตำแหน่งใกล้กำแพงเมืองสงขลามาหาปริมาณรังสีสะสมและปริมาณรังสีที่ตัวอย่างได้รับต่อปี พบว่า เศษอิฐทั้ง 3 ตัวอย่างมีอายุประมาณ 174-192 ปีซึ่งสอดคล้องกับปีที่สร้างกำแพงเมืองสงขลา (พ.ศ. 2310-2414)
Tidarut Vichaidid & Sorasak Danworaphong. (2021). Dating the historical old city walls of Songkhla Thailand using thermoluminescence technique, Heliyon, 7-e06166
สันติและคณะ (2021) ได้ศึกษาการตรวจสอบอายุอิฐดินเผาโบราณแหล่งโบราณคดีทุ่งตึกด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ จากการศึกษาพบว่า ชิ้นอิฐดินเผามีอายุอยู่ใน 2 ช่วง คือ ช่วงประมาณ 840 – 1,500 ปี และช่วงประมาณ 2,800 ปี (การตรวจสอบด้วยเทคนิคคาร์บอน 14 ได้อายุอยู่ในช่วง 1,070-1,310 ปี)
Santi Pailoplee, Boonyarit Chaisuwan, Isao Takashima, Krit Won-In & Punya Charusiri. (2021). Dating Ancient Remains by Thermoluminescence: Implications of Incompletely Burnt Bricks, Bulletin of Earth Science of Thailand, TL dating ancient remains. Vol.3, 8-16
ธิดารัตน์และปิยวรรณ (2023) ได้ศึกษาการหาอายุด้วยเทคนิคเทอร์โมลูมิเนสเซนซ์ของซากหอยน้ำจืดบริเวณแหล่งโบราณคดีถ้ำทวดตา ทวดยาย จังหวัดสงขลา โดยการนำซากหอยน้ำจืดมาสกัดเพื่อให้ได้ผลึกอราโกไนซ์และแคลไซต์เพื่อหาปริมาณรังสีสะสมและปริมาณรังสีต่อปี พบว่า ซากหอยน้ำจืดมีอายุประมาณ 9,485.96 ± 564.13 ปี
Tidarut Vichaidid & Piyawan Latam. (2023). Dating of freshwater fossil shells in the archaeological sites at Cliff Deva Thoud-Ta Thoud-Yai, Songkhla Province of Thailand with thermoluminescence, SJST, 44-50