ศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต (อมตะสยาม)
พระสมเด็จ ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สร้างไว้เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ถือเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดเกศไชโย และจัดเป็นที่หนึ่งในพระชุด “เบญจภาคี” ซึ่งล้วนเป็นที่หมายปองเป้นเจ้าของ ของผู้คนในวงการพระเครื่องทุกกลุ่ม แต่เรื่องของพระสมเด็จ ถูกทำให้เชื่อในวงการว่า มีการสร้างน้อย และยากในการแยะแยะ ระหว่างพระแท้ กับพระเก้ ซึ่งแท้จรงิแล้ว เรื่องพระสมเด็จนั้น ก็ยังไม่มีเหตุผล หรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มายืนยันแต่อย่างไร ทำให้ความคิด ความเชื่อดังกล่าว ยังดำรงและอยู่ในวงการพระเครื่องตราบเท่าทุกวันนี้
จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างพระสมเด็จ ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นั้น ท่านมีเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ เพื่อสือบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ไว้เตือนสติ ผู้ใช้ ผู้ครอบครองให้ยึดมั่นในคุณงามความดี ละเว้นความชั่ว ตามหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นพุทธบูชา แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนการสร้งในแต่ละวัดดังนี้ วัดบางขุนพรหม สร้างจำนวน 84,000 องค์ วัดเกศไชโย 84,000 องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ และพระสมเด็จวัดระฆังฯ น่าจะสร้างไม่ต่ำกว่า 84,000 องค์ มีการสร้างขึ้นเป็นแสนๆ องค์ และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านยังนำไปบรรุจกรุที่วัดต่างๆ อีหลายแห่ง ดังนั้นประเด็นของความเป็นพระแท้หรือพระเก้จึงต้องหาข้อมูลมาพิจารณาโต้แย้ง ด้วยเหตุผล โดยสามารถศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี ธรรมชาติวิทยา และวิทยาศาสตร์มาร่วมกันพิสูจน์ตัดสินความเป็นไปได้
ดังนั้น ศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต (อมตะสยาม) มีความตั้งใจที่จะให้ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จทั้งสามวัด ที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้สร้าง ให้แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาอย่างมีหลักการ และได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) โดยสถาบันศึกษาทางไกล จัดเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ภายใต้ “หลักสูตรการศึกษาพระเครื่องพระสมเด็จ (โต พรหมรังสี)”
ศูนย์พระเครื่องบารมีสมเด็จโต (อมตะสยาม) ขอขอบคุณหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้นมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อเกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและวงการพระเครื่อง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมรดกชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่สนใจศึกษา “พระสมเด็จ” ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)